หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ - การปกครองท้องถิ่น

  ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Public Administration

  ชื่อปริญญา
ภาษาไทย รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
ชื่อย่อ รป.บ
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Public Administration
ชื่อย่อ B.P.A.

  หลักการและเหตุผล

1. เพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในสาขาที่ตนได้ศึกษามาเป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีคุณธรรมและจริยธรรม และมีทักษะในการสื่อสารให้มีคุณภาพ เพื่อสนองต่อความต้องการขององค์กรและหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐและเอกชนที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคม ด้านธุรกิจและด้านอุตสาหกรรม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

2. เพื่อให้บัณฑิตมีพื้นฐานความเข้าใจและศักยภาพเพียงพอ ที่จะพัฒนาตนเองให้เหมาะสมกับภาระความรับผิดชอบและสามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในอนาคต รวมถึงมีพื้นฐานความรู้เพียงพอที่จะศึกษาต่อในระดับสูงทั้งภายในและต่างประเทศ

3. เพื่อให้บัณฑิตมีความรอบรู้ในสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น และมีจรรยาบรรณในการนำไปใช้เพื่อพัฒนาประเทศ โดยตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อสังคม

  อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสําเร็จการศึกษา

เมื่อสําเร็จการศึกษาบัณฑิตสามารถประกอบอาชีพที่ตรงกับคุณวุฒิ คือ อาจารย์ ข้าราชการตํารวจ ข้าราชการทหาร ปลัดอําเภอ ปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล สมาชิกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ บริหารงานบุคคล เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นักการเมืองระดับท้องถิ่นและระดับชาติ พนักงานบริษัทเอกชน ผู้บริหารบริษัท ผู้จัดการฝ่ายต่างๆ เป็นผู้ประกอบการขององค์กรภายในและภายนอกประเทศ

  คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

1.สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือ เทียบเท่า หรือ

2. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ที่กำลังศึกษาหรือเคยศึกษาขั้นปริญญา ตรีจาก สถาบันอุดมศึกษาทั้ง ในประเทศและต่างประเทศที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ

3. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง

4. กรณีที่ใช้วุฒิการศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ให้เทียบวุฒิการศึกษา ให้ดำเนินการขอใบเทียบระดับความรู้ที่กระทรวงศึกษาธิการก่อนสมัคร

5. ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคที่เบียดเบียนอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

6. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใดมาก่อน

7. เป็นผู้มีภูมิลำเนาที่ทางสถาบันสามารถติดต่อได้ตลอดเวลา

8. มีความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐานได้

  โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา เกณฑ์ สกอ.(หน่วยกิต) หลักสูตรปรับปรุง(หน่วยกิต)
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 30
1.1 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 9
1.2 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
1.3 กลุ่มวิชาภาษา 15
1.4 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 6
2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 84 84
2.1 กลุ่มวิชาแกน 33
2.2 กลุ่มวิชาเอก 36
2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือกหรือกลุ่มวิชาโท 15
3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 6
รวม ไม่น้อยกว่า 120 120


  หมวดวิชาศึกษา
  หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
(เลือกเรียนกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จำนวน 9 หน่วยกิต)
1.1 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
SO1001 พลังอำนาจแห่งชาติ
SO1002 สมรรถนะในการประกอบอาชีพ
1.2 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
HU1001 หลักคุณธรรมและจรรยาบรรณ
HU1002 ปรัชญา ศาสนา และวัฒนธรรม
1.3 กลุ่มวิชาภาษา เลือกเรียนจำนวน 15 หน่วยกิต
TH1001 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
EN1001 ภาษาอังกฤษ 1
EN1002 ภาษาอังกฤษ 2
EN2003 ภาษาอังกฤษ 3
EN2004 ภาษาอังกฤษ 4
1.4 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 หน่วยกิต
MA1001 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
SC1001 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา
IT1001 สารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า
2. หมวดวิชาเฉพาะ
2.1 กลุ่มวิชาแกน บังคับเรียนจำนวน 39 หน่วยกิต
BU2101 การภาษีอากร
EC2101 หลักเศรษฐศาสตร์
MG1101 การจัดการองค์การและทรัพยากรมนุษย์
MG4103 การจัดการเชิงกลยุทธ์
PO1101 หลักรัฐศาสตร์
PO1102 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์
PO2103 กฎหมายปกครอง
PO2104 การเมืองการปกครองไทย
PO2105 การปกครองท้องถิ่นไทย
PO2106 ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์
PO2107 นโยบายสาธารณะ
PO3108 การคลังรัฐบาลและการคลังท้องถิ่น
PO3109 หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง
2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับเรียนจำนวน 30 หน่วยกิต
แขนงวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บังคับเรียน จำนวน 30 หน่วยกิต
PA3201 ทฤษฎีองค์การและการจัดการ
PA3202 การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ
PA3203 การบริหารการพัฒนา
PA3204 การบริหารโครงการ
PA3205 การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ
PA3206 สัมมนาประเด็นการบริหารงานในภาครัฐ
PA3207 พฤติกรรมองค์การ
PA3208 การพัฒนาและการวิเคราะห์องค์การ
PA4209 การบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น
PA4210 การจัดทำและประเมินโครงการ
แขนงวิชาการปกครองท้องถิ่น บังคับเรียนจำนวน 30 หน่วยกิต
MG3206 การจัดการค่าตอบแทนและสวัสดิการ
MG3208 การฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
PL3201 กฎหมายสำหรับการปกครองท้องถิ่น
PL3202 การพัฒนาเมืองและชนบทประยุกต์
PL3203 สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย
PL3204 การประเมินการปฏิบัติงาน
PL3205 เศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น
PL3206 วิสาหกิจชุมชน
PL4207 กลยุทธ์การวางแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเชิงบูรณาการ
PL4208 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนท้องถิ่น


หมวดวิชาโท
(ให้นิสิตเลือกเรียนกลุ่มวิชาเอกเลือกหรือกลุ่มวิชาโท จำนวน 15 หน่วยกิต)
ให้นิสิตเลือกเรียนสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เพียงสาขาเดียวที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นเป็นวิชาโท โดยเลือกเรียนให้ครบจำนวน 15 หน่วยกิต ส่วนนิสิตที่เลือกเรียนวิชาโทในสาขาวิชานิติศาสตร์ ให้นิสิตเลือกเรียนให้ครบจำนวน 18 หน่วยกิต

  3. หมวดวิชาเลือกเสรี
ให้นิสิตเลือกรายวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยจำนวน 6 หน่วยกิต

  ประมาณการค่าใช้จ่าย