หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรและการสอน

  ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
ภาษาอังกฤษ Master of Education Program in Curriculum and Instruction

  ชื่อปริญญาบัตร
ภาษาไทย ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน)
ชื่อย่อ ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน)
ภาษาอังกฤษ Master of Education (Curriculum and Instruction)
ชื่อย่อ M.Ed. (Curriculum and Instruction)


  โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างและองค์ประกอบของหลักสูตร


1) แผน ก แบบ ก 2 ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
หมวดเสริมพื้นฐาน N/C
หมวดวิชาพื้นฐาน 6 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก 3 หน่วยกิต
หมวดวิชาฝึกปฏิบัติงาน - หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต

2) แผน ข ไม่ทำวิทยานิพนธ์
หมวดเสริมพื้นฐาน N/C
หมวดวิชาพื้นฐาน 6 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก 9 หน่วยกิต
หมวดวิชาฝึกปฏิบัติงาน - หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 6 หน่วยกิต
รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต


  หมวดวิชาศึกษา
  หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน
EDC5101 ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิต N/C
หมวดวิชาพื้นฐาน
EDC5102 สถิติและคอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยทางการศึกษา 3 (3-0-6)
EDC5103 ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา 3 (3-0-6)
EDC5104 ประกันคุณภาพการศึกษา 3 (3-0-6)
หมวดวิชาบังคับ
EDC6101 ปรัชญาและจิตวิทยาเพื่อการเรียนรู้ 3 (3-0-6)
EDC6102 การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 3 (3-0-6)
EDC6103 การบริหารจัดการหลักสูตรและการเรียนการสอน 3 (3-0-6)
EDC6104 การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน 3 (3-0-6)
EDC6105 หลักการศึกษาและการเรียนรู้ 3 (3-0-6)
EDC6106 นวัตกรรมและการประเมินผลการศึกษา 3 (3-0-6)
หมวดวิชาเลือก
EDC6201 การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการฝึกอบรม 3 (3-0-6)
EDC6202 ภาษาและวัฒนธรรม 3 (3-0-6)
EDC6203 การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด 3 (3-0-6)
EDC6204 การวิจัยพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน 3 (3-0-6)
EDC6205 การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้สู่อาเซียน 3 (3-0-6)
EDC6206 การนิเทศเพื่อการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน 3 (3-0-6)
EDC6207 ความเป็นครู 3 (2-4-6)
EDC6208 การออกแบบการเรียนการสอนตามหลักศาสนา 3 (3-0-6)
EDC6209 การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้ 3 (3-0-6)
หมวดวิชาฝึกปฏิบัติงาน
EDC6301 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 1 3 (0-18-9)
EDC6302 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2 3 (0-18-9)
วิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระและสารนิพนธ์
สำหรับผู้ที่เลือกเรียนแผน ก แบบ ก 2 ทำวิทยานิพนธ์
EDC7501 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
สำหรับผู้ที่เลือกเรียนแผน ข ไม่ทำวิทยานิพนธ์
EDC7502 การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระและสารนิพนธ์ 6 หน่วยกิต


  ประมาณการค่าใช้จ่าย


   คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

(1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศที่สำนักงาน กพ. ให้การรับรอง หรือ

(2) เป็นผู้กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรระดับปริญญาตรี และคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนเปิดภาคการศึกษาจากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศที่สำนักงาน กพ. ให้การรับรอง หรือ

(3) เป็นผู้มีประสบการณ์การทำงานภายหลังจากที่ได้ศึกษาขั้นบัณฑิตหรือเทียบเท่ามาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ปี

(4) ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาให้เข้าศึกษาต่อได้เป็นพิเศษเฉพาะราย และ

(5) มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

  ความสำคัญของหลักสูตร

ด้วยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและเป็นหัวใจสำคัญในการนำพาหน่วยงานทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการสู่ความเป็นเลิศ เพื่อความผาสุกของคนในประเทศและต่างประเทศและชุมชนท้องถิ่น ซึ่งความสำเร็จในการพัฒนาขีดความสามารถที่มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรให้มีความรอบรู้ในด้านการจัดทำหลักสูตรและการสอน เพื่อให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ได้อย่างอิสระและมีความสามารถในการสร้างนักวิชาการทางการศึกษาได้

มหาวิทยาลัยเวสเทริ์นเล็งเห็นว่าบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น เป็นบุคคลสำคัญที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพ จึงเห็นสมควรเปิดหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการหลักสูตรและการสอน เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในปัจจุบันให้มีความเชี่ยวชาญและความชำนาญเฉพาะด้านเพื่อเป็นบุคลากรที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าของปะเทศต่อไป

   ปรัชญาของหลักสูตร

มุ่งพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถในการเป็นผู้นำด้านวิชาการ และการวิจัย สู่ความเป็นเลิศทางการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ

   วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังนี้

1) เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมต่อความเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ต่างๆ ได้

2) เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นผู้นำทางวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน

3) เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4) เป็นผู้มีทักษะสามารถแสวงหาความรู้ โดยประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าเพื่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

   อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสําเร็จการศึกษา

เมื่อสำเร็จการศึกษาบัณฑิตสามารถประกอบอาชีพดังนี้

- ข้าราชการในหน่วยงานราชการต่างๆ

- ผู้บริหารหลักสูตรและการสอนในสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา

- ครู อาจารย์ผู้สอน บุคลากรในสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน

- ศึกษานิเทศก์ ในการนิเทศการศึกษาด้านหลักสูตรและการสอน

- นักวิจัย นักวิชาการ นักพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และนักพัฒนาหลักสูตรในหน่วยงานต่างๆ

- ที่ปรึกษาด้านการศึกษาตามหน่วยงาน สถานศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

- บุคลากรที่ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับทางการศึกษา